วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 16



การเรียนการสอน

อาจารย์แจกข้อสอบกลางภาค และให้นักศึกษาส่งวันที่ 27-28 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยมี

คำชี้แจง : ข้อสอบปลายภาควิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ 15 คะแนน


1. ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ตนเองได้รับจากวิชา   การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความ

ต้องการพิเศษ  (7คะแนน)

2.  ยกตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษมา1ประเภท โดยอธิบายตามหัวข้อดังนี้   (5คะแนน)
      
  - ลักษณะอาการ
       
  - บทบาทของครู
       
  - การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ

3.  ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  (3คะแนน)


- ส่งสรุปวิจัยภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

- ส่งข้อสอบภายในวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ก่อนเวลา 17.00 น.

- ทำ blogger ให้เสร็จภายในวันที่ 2 มีนาคม 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 15



การเรียนการสอน
เรื่องเด็ก แอลดี (LD)





เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ
  • การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
  • กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
  • มีความบกพร่องทางการพูด
  • มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
  • มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
  • มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
  • การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
  • มีความบกพร่องทางการรับรู้
  • มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
  • มีอารมณ์ไม่คงที
  • โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
  • มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
  • มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
  • เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
  • มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน
การบกพร่องทางการอ่าน
  • จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
  • ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน
  • ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์
  • เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง
  • อ่านคำโดยสลับตัวอักษร
  • ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน – หลัง
  • เด็กบางคนมีความไวในการฟัง
  • เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
  • มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ
  • มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง    เช่น   การแยกแยะเสียง   บ   ป   พ
  • มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ
  • การออกเสียงคำไม่ชัด    หรือไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ
  • ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
  • อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “ นาง” เป็นต้น
  • ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง   เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ
  • ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้
  • จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
  • จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
การบกพร่องทางการเขียน
  • ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้
  • เขียนประโยคตามครูไม่ได้
  • ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้
  • เรียงคำไม่ถูกต้อง
  • มีความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ    สระ   วรรณยุกต์  และเลขไทย  เช่น เด็กจะลากเส้นวน ๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ
  • เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา
  • มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน   เช่น ค – ด , น – ม ,  พ – ผ , ๓ – ๗ , ๔ – ๕
  • เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก
  • เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง    เช่น   “ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “ หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย”            
  • เขียนไม่ได้ใจความ
  • เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  • เขียนไม่ตรงบรรทัด   เขียนต่ำหรือเหนือเส้น  ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน   ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ
  • จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก
  • ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต
การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์
  • มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
  • ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน
  • ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น
  • ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป
  • ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง
  • ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์
  • ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้
  • ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ
  • มีปัญหาในการทำเลขโจทย์             
  • ไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง    เช่น    จะไม่รู้ว่าเลข   “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23 , 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน   ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้
  • ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “ + แทน การบวก” “ - แทน
    การลบ” “ X   แทน การคูณ” และ “ ?  แทน การหาร”

คำแนะนำแก่ครูและผู้ปกครอง
  • พยายามใจเย็นๆ  เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
  • แสดงความรักต่อเด็ก
  • มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
  • อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี   แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
  • ยอมรับนับถือในตัวเด็ก    ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดี ๆ ในตนเองเหมือนกัน
  • มีความคาดหวังที่เหมาะสม
  • เมื่อเด็กทำผิด    เช่น  เขียนผิด  อ่านผิด จงอย่าบ่น    ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
อ่านหนังสือสนุกๆ กับเด็ก   กระตุ้นให้เด็กถามคำถาม   เล่าเรื่อง   และแสดงความคิดเห็น
การนำไปใช้
ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และเข้าใจเด็กในสิ่งที่เด็กเป็น

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 14


การเรียน การสอน 

      - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง การดูเเลรักษาเเละส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       - ในคาบเรียนได้มีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ความรู้ที่ได้รับ

หลักการวินิจฉัยโรคออทิสติก

ออทิสติก (Autistic Disorder)

โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ นับเป็นเวลา 60 ปีแล้ว ที่นักวิชาการรู้จักโรคนี้ และพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆของโรค แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบสาเหตุ ก็ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย การดูแลช่วยเหลือในปัจจุบันช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ดีขึ้นได้มาก โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัย และช่วยเหลือตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง
คำว่า “Autism” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “Auto” ซึ่งแปลว่า Self หมายถึง แยกตัวอยู่ตามลำพังในโลกของตัวเอง เปรียบเสมือนมีกำแพงใส หรือกระจกเงา กั้นบุคคลเหล่านี้ออกจากสังคมรอบข้าง
ปี ค.ศ.1943 มีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรก โดยนายแพทย์ลีโอ แคนเนอร์ (Leo Kanner) จิตแพทย์ สถาบันจอห์น ฮอปกินส์ รายงานผู้ป่วยเด็กจำนวน 11 คน ที่มีอาการแปลกๆ เช่น พูดเลียนเสียง พูดช้า สื่อสารไม่เข้าใจ ทำซ้ำๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจคนอื่น เล่นไม่เป็น และได้ติดตามเด็กอยู่ 5 ปี พบว่าเด็กเหล่านี้ต่างจากเด็กปัญญาอ่อน จึงเรียกชื่อเด็กที่มีอาการเช่นนี้ว่า “ ออทิสซึม ” (Autism)
ปี ค.ศ.1934 นายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ ชาวออสเตรีย พูดถึงเด็กที่มีลักษณะเข้าสังคมลำบาก หมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรซ้ำๆ ประหลาดๆ แต่กลับพูดเก่งมาก และดูเหมือนจะฉลาดมากด้วย แต่ว่าแอสเพอร์เกอร์ ถูกวิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่สองกลืนหายจนหมดซุ่มเสียง ไม่มีใครสานต่องานวิจัย
ออทิสซึมในความหมายของแอสเพอร์เกอร์ คล้ายคลึงกับของแคนเนอร์มาก นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า หมอ 2 คนนี้พูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders)
ลักษณะอาการและการวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) จัดโรคออทิสติก (Autistic Disorder) อยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders” ซึ่งก็คือ มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิด พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
กำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยออทิสติกดังนี้
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
1. มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
  • 1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาหรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
  • 1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
  • 1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
  • 1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
2. มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
  • 2.1. พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน (เช่น แสดงท่าทาง)
  • 2.2. ในรายที่มีการพูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
  • 2.3. ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
  • 2.4. ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
3. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็นเช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
  • 3.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ (stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่างๆมีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
  • 3.2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
  • 3.3. ทำกิริยาซ้ำๆ (mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
  • 3.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี
(1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
(3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett's Disorder หรือ Childhood Disintegrative Disorder ได้ดีกว่า
 กุญแจสำคัญ ที่เป็นตัวทำนาย โรคออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มี 4 อาการหลัก ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรนึกถึงโรคออทิสติก และควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลืออย่างทันที อาการดังกล่าว คือ
  • เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น (lack of pretend play)
  • ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้ (lack of protodeclarative pointing)
  • ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น (lack of social interest)
  • ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้ (lack of joint attention)
ระบาดวิทยา
การศึกษาด้านระบาดวิทยา ทำค่อนข้างยากเนื่องจากเกณฑ์ในการวินิจฉัยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาในช่วง 30 ปี พบว่า ความชุกของโรค เฉลี่ย 4.8 คนต่อประชากร 10,000 คน หรือประมาณ 1 คน ต่อประชากร 2,000 คน แต่ถ้ารวม แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม จะมีความชุกของโรคประมาณ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน
จากรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานในระยะหลัง พบว่า ความชุกของโรคเพิ่มมากขึ้น บางรายงานพบสูงถึง 1 คนต่อประชากร 250 คน (รวมถึง Atypical Autism, Asperger's Syndrome, PDD-NOS) ความชุกที่เพิ่มขึ้นอาจสะท้อนให้เห็นถึงอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นจริง แต่ในเบื้องต้น พบว่ามีความสัมพันธ์กับเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยที่กว้าง ครอบคลุมมากขึ้น (case definition) และประชาชนทั่วไปมีความตระหนักในโรคออทิสติกมากขึ้น (case recognition)
พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ประมาณ 3-4 เท่า แต่ในผู้หญิงจะมีอาการรุนแรงกว่า และการศึกษาช่วงแรกๆ Kanner เชื่อว่าพบมากในกลุ่มประชากรที่มีเศรษฐานะดี (high social class) แต่ปัจจุบัน พบว่ามีในทุกระดับชั้นของสังคมพอๆ กัน เป็นเพราะว่าเดิมกลุ่มที่มีเศรษฐานะดี เข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ดีกว่า (selection bias)
ส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย โดยพบภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงร้อยละ 50 ระดับน้อยถึงปานกลางร้อยละ 30 และไม่พบภาวะปัญญาอ่อนร้อยละ 20
สาเหตุของโรค
มีความพยายามในการศึกษาถึงสาเหตุของโรคออทิสติก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจน ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติ มากกว่าเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม
ในอดีตเคยเชื่อว่าโรคออทิสติก เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่เย็นชา (refrigerator) แต่จากหลักฐานข้อมูลในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก
ปัจจัยทางชีววิทยา (biological factor) ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ มีดังนี้
1. ด้านพันธุกรรม (Genetic Factor)
  • ศึกษาในฝาแฝด (twin study) พบว่าถูกควบคุมโดยปัจจัยด้านพันธุกรรมสูงมาก
  • ศึกษาในครอบครัว (family study) พบว่าในญาติลำดับที่ 1 (first degree relative) ของผู้ที่เป็นโรคออทิสติก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคออทิสติก และกลุ่มโรคคล้ายออทิสติก (autistic like)
  • ศึกษาโครโมโซม และวิเคราะห์ความเชื่อมโยง (chromosome study and linkage analysis) พบว่าเกี่ยวข้องกับ โครโมโซม 15q 11-13, โครโมโซม 7q และโครโมโซม 16p

2. ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาท (Neuropharmacological Study)
พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีสื่อประสาท ซีโรโทนิน (serotonin) โดยมีระดับในเกล็ดเลือดสูงขึ้น แต่ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่ชัดเจนได้ ว่าเกิดจากอะไร
3. คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography - EEG)
พบว่ามีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง มากกว่าประชากรปกติ แต่ไม่พบลักษณะจำเพาะที่อธิบายความผิดปกติของการทำงานของสมองได้
4. ภาพฉายระบบประสาท (Neural Imaging)
พบความผิดปกติหลากหลายรูปแบบ แต่ยังคลุมเครืออยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน เช่น cerebellar vermis hypoplasia or hyperplasia, third ventricle ใหญ่ , caudate เล็ก , right anterior cingulate gyrus เล็ก
5. พยาธิวิทยาระบบประสาท (Neuropathological Study)
ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่จากหลายการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับจำนวน Purkinje cell ที่ลดลง
6. การศึกษาปริมาตรของสมอง (Study of Brain Volume)
พบว่ามีปริมาตรของสมองเพิ่มขึ้น ยกเว้นสมองส่วนหน้า (frontal lobe) และพบว่าเส้นรอบวงของศีรษะ (head circumference) ปกติในตอนแรกเกิด แล้วเริ่มมากผิดปกติในช่วงวัยเด็กตอนต้นถึงตอนกลาง
การดูแลรักษา
โรคออทิสติก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยเหลือให้มีพัฒนาการดีขึ้นได้มาก เด็ก มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขา สามารถเรียนรู้ และใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้
การดูแลรักษา จำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน (Multimodality Intervention) โดยใช้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Approach) เพื่อให้มีประสิทธิผลสูงสุด สำหรับแนวทางในการดูแลรักษาผู้เป็นโรคออทิสติก มีดังนี้
  1. การส่งเสริมศักยภาพครอบครัว (Family Empowerment)
    ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็ก ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน ครอบครัวเข้มแข็ง คือพลังแห่งความสำเร็จ การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ปกครอง และพี่น้องของผู้ที่เป็นโรคออทิสติกสิ่งจำเป็น นอกจากจะลดข้อสงสัยในการประเมินปัญหาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้กระบวนการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรนำเข้ามาร่วมในกระบวนการประเมินและดูแลรักษาด้วย ควรจะมีเวลาเพียงพอที่จะพูดคุยถึงสิ่งที่ผู้ปกครองเป็นกังวล ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความต้องการของเด็กและครอบครัว และแนวทางการดูแลรักษาที่เป็นไปได้ ผู้ปกครองและพี่น้องของเด็กออทิสติกบางคนอาจมีความต้องการพิเศษเฉพาะ ซึ่งจะต้องพิจารณา ผู้ปกครองมักจะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการซึมเศร้า หรือความเครียดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น พี่น้องมักจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านพัฒนาการเพิ่มขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้ปกครองได้รับผลกระทบมากขึ้น
  2. การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ (Early Intervention)
    การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ควรให้ตั้งแต่เด็กอายุน้อย โดยต้องทำอย่างเหมาะสม เข้มข้น และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ กิจกรรมที่จัดควรให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย การออกแบบการฝึกต้องให้เหมาะสมตามจุดแข็ง จุดอ่อน และความเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
             เด็กควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุล การส่งเสริมพัฒนาการเพียงด้านเดียว เช่น การสอนพูด โดยไม่สอนทักษะสังคม อาจทำให้เด็กเป็นแบบ นกแก้วนกขุนทอง คือ พูดได้ แต่ไม่เข้าใจความหมาย ไม่มองหน้าสบตา ไม่สื่อสาร เป็นต้น
  3. พฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy)
    การทำพฤติกรรมบำบัด ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยไม่ขึ้นกับโปรแกรมหรือปรัชญาในการฝึก โปรแกรมดังกล่าวมักประกอบด้วยกระบวนการฝึกปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification Procedure) และการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์ (Applied Behavior Analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
           พฤติกรรมบำบัดพบว่า ช่วยเสริมทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับความเครียดของผู้ปกครองด้วย
  4. การฝึกและแก้ไขการพูด (Speech Therapy)
    ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมก็ลดลงด้วย ดังนั้นการฝึกและแก้ไขการพูด จึงมีความสำคัญ
           การพูดเป็นวิธีการสื่อความหมายที่สำคัญที่สุด แต่ถ้ายังไม่สามารถพูดได้ ก็จำเป็นต้องหาวิธีการอื่นมาทดแทนการพูดเพื่อให้สามารถบอกความต้องการของตน เองได้ ซึ่งเรียกวิธีการเหล่านี้ว่า การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC) เพื่อใช้ทดแทนการพูดเป็นการชั่วคราว หรือโดยถาวรในรายที่มีความบกพร่องทางการพูดอย่างรุนแรง
  5. การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
    การจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มตามความสามารถที่เขามีอยู่ หรือต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด ซึ่งเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้จนสามารถปฏิบัติได้จนเกิดเป็นความเคยชิน ติดตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีวัตถุประสงค์
    • เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ตามศักยภาพ
    • เพื่อลดการดูแลของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
    • เพื่อส่งเสริมให้เด็กปรับตัวเข้าหาสังคมได้
    • เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อเขาสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวของเขาเอง
  6. การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
    ทักษะสังคม เป็นความบกพร่องที่สำคัญของบุคคลออทิสติก ดังนั้นจึงต้องให้การฝึกฝนด้านนี้เป็นพิเศษ เพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงปกติที่สุด
          การฝึกฝนทักษะสังคม ทำได้โดยจำลองเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ให้ เพื่อให้ทดลองปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ หรือการสอนโดยจดจำรูปแบบบทสนทนา ในสถานการณ์ต่างๆ นำมาใช้โดยตรง
  7. การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Educational Program)
    การจัดการศึกษามีบทบาทสำคัญ ในการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด ซึ่งทำให้เกิดผลดีในระยะยาว โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ ได้ แทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการเท่านั้น
             การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล จำเป็นต้องออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อย และความสนใจของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายไม่สับสน มุ่งหมายที่จะให้เด็กสามารถนำทักษะที่ได้จากชั้นเรียนไปใช้ในชีวิตจริงๆ นอกห้องเรียน ข้อสำคัญคือควรให้เด็กมีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเด็กปกติ
            โปรแกรมการสอนในห้องเรียนที่น่าสนใจ คือ TEACCH program (Treatment and Education of Autistic and related Communication handicapped CHildren) เน้นการสอนอย่างมีระบบระเบียบ เป็นหัวใจสำคัญ โดยมีการจัดห้องเรียนให้เป็นระบบ จัดตารางเวลาของกิจกรรมต่างๆแน่นอน และมีความคาดหวังที่ชัดเจน ทำให้เด็กรู้ว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง วิธีการสอนจะเน้นใช้ภาพมากกว่าเสียง สอนให้สื่อสารโดยใช้รูปหรือสัญลักษณ์ต่างๆ
  8. การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
    ยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้าน สังคม ส่วนยาที่พบว่ามีประโยชน์ในการลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) ก้าวร้าว (aggression) และหมกมุ่น (obsessive preoccupation) คือ กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า กลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) และกลุ่มยารักษาโรคจิต (neuroleptics)
            Rimland เคยเสนอให้ใช้วิตามินบี 6 ร่วมกับแมกนีเซียม (Megavitamin Treatment) โดยอ้างอิงผลงานวิจัย ซึ่งพบว่ามีเด็กร้อยละ 30 อาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่จากการศึกษาล่าสุดโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ สรุปว่าไม่ได้ผล
องค์ความรู้ใหม่ 
                     
        เมื่อเด็กมีความบกพร่องทุกส่วนต้องเข้ามาช่วยเหลือ ให้คำเเนะนำ เเค่พ่อ แม่ที่ดูเเละคงไม่พอ ทั้งทางครู โรงเรียน สหวิชาชีพต่างๆ เช่น นักโสตบำบัด นักกาพภาพบำบัด นักอัตถบำบัด นักจิตวิทยา เป็นต้นต้องมีส่วนร่วมด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
           ในการให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาผู้ปกครอง

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 13


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการสอบภายในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 12


 การเรียน การสอน 
                    - อาจารย์ให้ดูเพาเวอร์ในเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                    - โต้ตอบสนทนาความรู้เกี่ยวพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้                                                        

 จิตวิทยาทางพัฒนาการของเด็กเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมความหมายทางจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ คือกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีสิ่งเร้า และการตอบ สนองทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญา
                องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้อันเกิดจากกระบวนการตอบสนองเมื่อมีการเสนอสิ่งเร้านั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ
                                1. แรงขับ (drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียนในบางสิ่งบางอย่างแล้วจูงใจ(motivated) ให้ผู้เรียนหาทางตอบสนองความต้องการนั้น
                                2. สิ่งเร้า (stimulus) เมื่อมีสิ่งเร้าผู้เรียนจะได้รับความรู้ (message) หรือการชี้แนะ(cue)
ทันทีทันใดจากสิ่งเร้านั้นก่อนที่จะตอบสนอง
                                3. การตอบสนอง (response) หมายถึง การที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่ง
อธิบายได้ด้วยพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
                                4. การเสริมแรง (reinforcement) หมายถึง การให้รางวัล เช่น การชมเชยผู้เรียนในกรณีที่
ผู้เรียนตอบสนองถูกต้อง
จิตวิทยาการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กวัยต่าง  จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะวัยที่สามารถจำแนกให้เห็นเป็นลักษณะเด่นประจำวัยได้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นปกติธรรมดาของเด็กวัยนี้
                       พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( Preschool Child) ดังต่อไปนี้
                                1. พัฒนาการทางกาย เด็กวัยนี้นับว่าเป็นเด็กวัยตอนต้นที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่าง
รวดเร็วแต่จะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าด้านข้างกล้ามเนื้อและกระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังเจริญไม่เต็มที่การประสานงานของอวัยวะต่าง  ยังไม่ดีพอจากการศึกษาของGesell และคนอื่น  เด็กอายุ 3-5 ขวบ มีพัฒนาการทางกายแตกต่างกัน บางคนสามารถทรงตัวได้ดี วิ่งได้เร็วขึ้น ควบคุมการเดิน วิ่งให้ช้าลงและเร็วได้ กระโดดไกล  ได้ เต้นและกายบริหารได้ตามจังหวะดนตรี การประสานงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น
                                2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 3-5 ขวบ มักจะเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ และจะแสดงอารมณ์
และจะแสดงอารมณ์ต่างออกมาอย่างเปิดเผยและมีอิสระเต็มที่เด็กวัยนี้มักมีความกลัวอย่างสุดขีดอิจฉาอย่างไม่มีเหตุผล โมโหร้าย การ ที่เด็กมีอารมณ์เช่นนี้อาจจะเป็นเพราะเด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้นเพราะ เงื่อนไขทางสังคมตั้งแต่สังคมภายในบ้านจนกระทั่งถึงสังคมภายนอกบ้านเด็กเคย ได้รับแต่ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ที่ใกล้ชิด เมื่อต้องพบกับคนนอกบ้านซึ่งไม่สามารถเอาใจใส่เด็กได้เท่าคนในบ้านและไม่สามารถที่จะเอาใจใส่ได้เหมือนเมื่อเด็กเล็ก  อยู่เด็กจึงรู้สึกขัดใจเพราะคิดว่าตนเป็นคนที่มีความสามารถกว่าคนอื่น เด็ก จะยกย่องบูชาตนเองและพยายามปรับตัวเพื่อต้องการให้เป็นที่รักและเป็นที่ยอม รับของบุคคลข้างเคียงในวัยนี้มักจะใช้คำพูดแสดงอารมณ์ต่างๆ แทนการรุกรานด้วยกำลังกายเพราะพัฒนาการทางร่างกายยังไม่โตเต็มที่ เด็กแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพ การอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่และสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น เด็กที่เติบโตขึ้นจากสภาพแวดล้อมสงบเงียบได้รับความรักเอาใจใส่ และการตอบสนองความต้องการสม่ำเสมอพ่อแม่มีอารมณ์คงเส้นคงวาเด็กก็จะเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคงกว่า เด็กที่มีสภาพ แวดล้อมที่ตรงกันข้าม เหล่านี้เป็นต้น
                                3. พัฒนาการทางสังคม คำว่าสังคมในที่นี้ หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ การผูกพันและการ
มีชีวิตอยู่ร่วมกัน เด็กปฐมวัยหรือวัยก่อนเข้าเรียนได้เรียนรู้เข้าใจ และ ใช้ภาษาได้ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูที่อยู่ในชั้นอนุบาล ได้อบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจถึงวัฒนธรรมค่านิยมและศีลธรรมทีละน้อย โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่าย เช่น การพูดจาสุภาพ การเคารพกราบไหว้ ฯลฯ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมดังนั้นเมื่อเด็กเข้าไปอยู่ในโรงเรียนอนุบาลจะรู้จักคบเพื่อนรู้จักการผ่อนปรน รู้จักอดทนในบางโอกาส รู้จักการให้และการรับ Piaget นักจิตวิทยากลุ่มที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) กล่าวว่า เด็ก 3-5 ขวบ เรียน รู้พฤติกรรมทางสังคมจากเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลหรือเพื่อนบ้านวัยเดียวกันแต่ เด็กวัยนี้ยังเข้าใจถึงความถูกต้องและความไม่ลึกซึ้งนักดังนั้นจึงควรส่ง เสริมให้เด็กวัยนี้ได้พัฒนาในเรื่องการยอมรับการแยกตัวจากพ่อแม่ฝึกให้มี ความเชื่อมั่นเมื่ออยู่กับคนอื่นให้เด็กเข้าใจระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ฝึกให้รู้จักการแบ่งปันและการผลัดเปลี่ยนกันและรู้จักอดใจรอในโอกาสอันควร
                                4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเด็กจะเรียนรู้
ศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 3 ขวบ จะรู้จักศัพท์ประมาณ 3,000 คำ และเด็กสามารถใช้คำวลีและประโยคในการแสดงบทบาทตามแบบอย่างโทรทัศน์ได้รู้จักใช้ท่าทางประกอบคำพูดเด็ก 4 ขวบช่างซักช่างถามมักจะมีคำถามว่า ทำไม” “อย่างไร แต่ก็ไม่สนใจคำตอบและคำอธิบายคำพูดของเด็กวัยนี้สามารถพูดประโยคยาว  ที่ต่อเนื่องกันได้ สามารถ เล่านิทานสั้นๆ ให้จบได้และมักจะเอาเรื่องจริงปนกับเรื่องสมมติ สำหรับเด็กวัย 5 ขวบ พัฒนาการทางภาษาสูงมากเด็กสามารถตอบคำถามตรงเป้าหมาย ชัดเจนและสั้น การซักถามน้อยลง แต่จะสนใจเฉพาะเรื่องไป ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสพูดให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย และควรหมุนเวียนกันออกมาพูดทุกคนการจินตนาการและการสร้างเรื่องจะพบมากในเด็กวัยนี้จึง เป็นโอกาสเหมาะที่ควรจะได้สนับสนุนและส่งเสริมจินตนาการของเด็กให้มากที่สุด แต่เด็กวัยนี้ไม่มีพัฒนาการที่เกี่ยวกับการจัดประเภทของสิ่งของเป็นหมวดหมู่ ไม่มีพัฒนาการในเรื่องความคงตัว ในเรื่องขนาดน้ำหนักและปริมาตรทั้งนี้เป็นเพราะเด็กยังไม่มีความเข้าใจ ยังไม่มีเหตุผลและประเมินค่าสิ่งต่างๆ ตามที่เห็นด้วยตาเท่านั้นจะเห็นได้ว่าเด็กก่อนวัยเรียนนี้มีพัฒนาการทางร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตภาวะอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพแวด ล้อม และ สังคมรอบด้านเริ่มมีสังคมมีการเรียนรู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำฝึกการเป็นผู้ ให้และเป็นผู้รับและมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีอยู่ในวัยที่อยากรู้ อยากเห็นอยากทำ เรียนรู้เร็วเป็นแนวทางที่ครูผู้สอนควรจะสังเกต และเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กก่อนจะดำเนินการสอนและให้ความรู้ต่าง  กับเด็กก่อนวัยเรียนเหล่านี้
จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
               เป้าหมายของการศึกษาไม่ว่ายุคใดสมัยใด คือการถ่ายทอดความรู้ และมุ่งพัฒนาการทางสติปัญญาความสามารถให้สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วมาใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้ จิตวิทยาการเรียนจะช่วยให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้
                สุรางค์ โค้วตระกูล (2550:7-8) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้หรือมีความรู้ และทักษะตามที่หลัก สูตรได้วางไว้ ครู มีหน้าที่จัดประสบการณ์ในห้องเรียนเพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรม ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียนฉะนั้นความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการเรียนรู้ จึงเป็นรากฐานของการสอนที่มีประสิทธิภาพ
                ธิติพันธ์ จันต์เกิดแช่ม(2545:8) ได้สรุปความหมายของ จิตวิทยาการเรียนรู้ หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้นำมาเพื่อประยุกต์ใช้ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหรือการแสดงออกนั่นเอง
                ถนอมพร เลาหจรัสแสง(2541:7) ได้กล่าวถึงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือแนวคิดทางจิตวิทยาพุทธิพิสัย (cognitive psychology) เป็นแนวคิดสำคัญซึ่งส่งผลต่อการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดัง นั้นผู้สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกท่านควรที่จะศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อให้ได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีคุณภาพ
องค์ประกอบของพัฒนาการ 
                พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ
                                2.3.1 วุฒิภาวะ (Maturation) หมาย ถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นถึงระดับการแสดงศักยภาพที่มี อยู่ภายในตัวเด็กแต่ละคน ในระยะใดระยะหนึ่งที่กำหนดตามวิถีทางของธรรมชาติ และนำมาซึ่งความสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ศักยภาพที่เด็กแสดงออกมาในเวลาอันสมควรหรือที่เรียกว่าระดับวุฒิภาวะ(Maturation) ที่ มีอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่กำเนิดและถูกกำหนดโดยพันธุกรรมด้วยเหตุนี้ระดับวุฒิ ภาวะของเด็กที่จะแสดงความสามารถอย่างเดียวกันอาจแสดงออกมาในช่วงเวลาที่แตก ต่างกันได้ เช่น โดยทั่วไปเด็กจะวาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ ประมาณอายุ 4 ปี เด็กบางคนอาจจะทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือและความสัมพันธ์ ของมือและตา รวมทั้งทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง
                                2.3.2 การเรียนรู้(Learning) หมาย ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ดีจากการรับหรือจากการ ปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความต้องการและความสนใจของเด็ก ทำให้ความสามารถต่างๆ ของเด็กถูกนำออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจำกัดทั้งช่วงเวลาความสนใจที่สั้น และเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบของการเล่น ที่เด็กได้ลงมือกระทำศึกษาค้นความ สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวตามความพึงพอใจของตนเองและเก็บสะสมเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล เช่น เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนังสือนิทานและของเล่น รวมทั้งมีผู้ปกครองที่เอาใจใส่เล่นนิทานหรือแนะนำการอ่าน มักจะเรียนรู้การอ่านได้อย่างรวดเร็ว กว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
                พัฒนาการ ของเด็กปฐมวัยเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแคว้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสามารถบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้ากว่าที่ควร เช่น ความสามารถในการใช้ภาษา เด็กที่มีวุฒิภาวะในการพูดจะสามารถเปล่งเสียงพูดออกมาได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการสอนภาษาพูดก็จะใช้ภาษาพูดไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะในการพูด ถึงแม้ว่าจะไดรับการเคี่ยวเข็ญฝึกภาษาพูดมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจพูดได้ ถ้าเด็กยังไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น จึงเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของ พัฒนาการนั้นๆ โดยธรรมชาติอันก่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอน ของพัฒนาการ โดยมีสภาพแวดล้อมช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่นี้ เรียกว่า ระยะพอเหมาะ (Optimal Period) ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กสามารถแสดงออกเมื่ออยู่ในขั้นพัฒนาการนั้นๆ เรียกว่าพัฒนาการตามวัย (Developmenral Rask)ด็กที่แสดงพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการได้พอเหมาะกับวัยถือว่ามีพัฒนาการสมวัย
แบบแผนพัฒนาการ 
                พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามแบบแผนเดียวกันคือ
                                2.4.1 แบบแผนพัฒนาการ เด็ก ปฐมวัยทุกคนมีลำดับขั้นของพัฒนาการเหมือนกัน คือ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางก้าวหนาโดยไม่ข้าม ขั้น และไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พัฒนาการในขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อไปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ความสามารถในการวาดรูป เด็กเล็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือในการเคลื่อนไหวลากเส้นโยงไปมาอย่าง ไม่มีทิศทาง จนสามารถบังคับกล้ามเนื้อนิ้วได้มากขึ้นในการควบคุมการลากเส้นอย่างมีทิศทาง ตามความต้องการและสามารถวาดรูปคล้ายของจริงได้ในที่สุด
                                2.4.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ เป็น การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจน สามารถวัดได้โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของรูปร่างและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเด็กอายุมากขึ้นและได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ขนาดของร่างกายก็จะขยายใหญ่ขึ้น ส่วนสูงและน้ำหนักก็เพิ่มขึ้น รวมทั้งการแสดงออกถึงขีดความสามารถในด้านต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่นการเรียนรู้ศัพท์มากขึ้น ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นต้น ในช่วงปฐมวัยนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เกิดจาการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้เด็กมีรูปร่างผอมและสูงขึ้น
                                2.4.3 การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ เป็น การเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไกในการทำงานภายในร่างกายที่ ก่อให้เกิดความสามารถใหม่ๆ เช่น ก่อนที่จะใช้คำพูดสื่อความหมายคล้ายผู้ใหญ่ได้จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้น ตอนเกี่ยวกับการใช้ภาษา เช่น การฟัง การเปล่งเสียง การแยกความแตกต่างของเสียง การเลียนเสียง การเรียนรู้ความหมายและอื่นๆ มาเป็นลำดับ
                                2.4.4 ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน พัฒนาการ ของเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม สติปัญญา มีความสำคัญเสมอภาคและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นเปลี่ยน แปลงไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะหนึ่ง อารมณ์หงุดหงิด มีกาการเศร้าซึมปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
                                2.4.5 ลักษณะเด่นของพัฒนาการ แต่ ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนของพัฒนาการ ลักษณะบางอย่างอาจพัฒนาเร็วกว่าลักษณะอื่นและสังเกตเห็นเด่นชัดได้ เช่น ในช่วงอายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรับรู้และสังเกตความแตกต่างทางเพศ เมื่ออายุ 4 ปี จะซักถาม สนใจเล่นร่วมกับผู้อื่น พออายุ 5 ปี จะชอบความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ลักษณะเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เมื่อเด็กอายุมากขึ้นก็จะพัฒนาไปตามวุฒิภาวะและจากมวลประสบการณ์ทั้งหลายที่ ได้รับ
                                2.4.6  ความคาดหวังของพัฒนาการ พัฒนาการ มนุษย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนและได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอน จึงสามารถทำนาย คาดหวังความสามารถและพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กอย่าง คร่าวๆ ได้ ทั้งนี้เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวุฒิภาวะ และความพร้อม พัฒนาการก็สามารถดำเนินไปด้วยดีสมวัย หากมีอุปสรรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงใดของพัฒนาการ ก็ย่อมส่งผลต่อแบบแผนพัฒนาการขั้นต่อไปให้หยุดชะงักเบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติ และอาจส่งผลระยะยาวไปจนตลอดชีวิตได้
                                2.4.7 ความเสื่อมของพัฒนาการ การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีทั้งการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือความสามารถใหม่ๆ และความเสื่อมหรือการสูญเสียคุณลักษณะหรือความสามารถเดิมบางอย่าง เช่น เด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนจึงเกิดฟันแท้เข้ามาแทนที่ เด็กจะพูดเสียงอ้อแอ้ที่ฟังไม่รู้เรื่องก่อนจึงจะพูดชัดเจนขึ้นมาในช่วงบั้น ปลายของชีวิต การเสื่อมมีมากกว่าการพัฒนา
ลักษณะของพัฒนาการ 
                พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกด้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแคว้นและมีทิศทางการพัฒนาที่แน่นอน คือ
                                2.5.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางร่างกาย เริ่มต้นจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalous-Caudal Development) และจากแกนกลางไปสู่ส่วนข้าง(Proximal-Distal Development) สำหรับความสามารถทางการเคลื่อนไหวร่างกายจะพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวทั่วไป ไปสู่การเคลื่อนไหวแบบเจาะจง
                                2.5.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ หมาย ถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จะพัฒนาจากการรับรู้ความรู้สึกทั่วไป ไปสู่ความรู้สึกที่ละเอียดลึกซึ้ง จากการรับรู้ความรู้สึกของตนเองไปสู่การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
                                2.5.3 พัฒนาการด้านสังคม หมาย ถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น จะพัฒนาจากความผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ไปสู่การพึ่งตนเอง และการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
                                2.5.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิด ซึ่งจะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการรู้คิดเชิงรูปธรรม (Concete Thought) ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Thought) แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม (Abstract Thought) รวมทั้งความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric Thought) ไปสู่การใช้ความคิดที่มีเหตุผล (Reasoning)
อัตราของพัฒนาการ 
                ขีดความสามารถตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละคนจะเร็วหรือช้ากว่าอัตราปกติได้และมีความแตกต่างกัน คือ
                                2.6.1 ความแตกต่างภายในบุคคล (Intra-Individual Differences) ธรรมชาติ ได้กำหนดให้พัฒนาการของระบบและส่วนต่างๆ ของร่างกายภายในตัวเด็กแต่ละคน มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในช่วงอายุหนึ่งๆ ของบุคคลนั้นเช่นกัน ในช่วงวัยทารก พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาในช่วงปฐมวัย พัฒนาการของสมองอยู่ในอัตราสูงกว่าการเจริญเติบโตของอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น
                                2.6.2 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Inter-Individual Differences) แม้ ว่าเด็กทุกคนจะมีแบบแผนของพัฒนาการเหมือนกันและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน แต่ความสามารถที่จะพัฒนาให้ไปถึงจุดเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นหรือขัดขวางศักยภาพ การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน จากความรู้ด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กในช่วง ปฐมวัย ซึ่งหากบุคคลดังกล่าวมีความเขาใจในพัฒนาการของเด็กก็จะเป็นข้อมูลความรู้ใน การนำไปใช้เพื่อการพัฒนา ตลอดจนประยุกต์ความรู้เพื่อส่งเสริม สนับสนุนด้านการพัฒนาเด็กต่อไป
องค์ความรู้ใหม่ที่ได้ในวันนี้

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ          1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ (Developmental screening)
          2. การตรวจประเมินพัฒนาการ (Developmental assessment)
          3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ (Diagnosis)
          4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ (Treatment and early Intervention)
          5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ (Follow up and evaluation)

การนำไปประยุกต์ใช้
         เข้าใจพัฒนาการของเด็กใช้ในการดูแล ให้คำปรึกษาแกู่ผู้ปกครองต่อไป